ภาษีมูลค่่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้ที่ขาย สินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ เป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูป ของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้น ส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีและมีหน้าที่ต้อง ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอ จดทะเบียนได้)

 

จะต้องจดทะเบียน

1. วันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้ บริการ หรือกรณีอยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเริ่ม ประกอบกิจการ (เช่น อยู่ในช่วงการก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือกำลังติด ตั้งเครื่องจักร) และได้มีการซื้อสินค้าหรือรับ บริการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ภายใน 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบ กิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

2. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐาน ภาษี(รายรับ) เกินกว่า1.8 ล้านบาทต่อปี 

 

หน้าที่ ของผู้ประกอบการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

1.เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็น หลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง ได้แก่ (1) รายงานภาษีซื้อ (2) รายงานภาษีขาย (3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

3.ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตาม แบบ ภ.พ.30 

 

หากทำธุรกิจที่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนฯ แต่มิได้จดทะเบียนจะต้องมีความผิดอย่างไร

1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากยอดขาย สินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จดทะเบียนฯ เพื่อเป็นผู้ประกอบการฯ

3. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ ในแต่ละเดือนภาษี

4. เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือ เศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ

5. ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบ การจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บในขณะที่ยังไม่ได้ จดทะเบียนฯ ไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ (ภาษีขาย)